กฎหมายและระเบียบ
การส่งเสริมความโปร่งใส
การป้องกันและปราบปรามทุจริต
มาตรการประหยัดพลังงาน
ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อ ทต.บ้านต๋อม
ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.ด้านกายภาพ
เทศบาลตำบลบ้านต๋อม ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต๋อม เป็นเทศบาลตำบลบ้านต๋อม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นเทศบาลตำบลบ้านต๋อม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 229 หมู่ 4 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
1.1 ที่ตั้งของเทศบาลตำบลบ้านต๋อม
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านต๋อม ตั้งอยู่เลขที่ 229 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยา และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยาประมาณ 5 กิโลเมตร มีแนวเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตเทศบาลตำบลบ้านต๊ำ
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตเทศบาลตำบลสันป่าม่วงและเทศบาลเมืองพะเยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตเทศบาลตำบลท่าวังทอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตเทศบาลตำบลสันป่าม่วง
และเขตเทศบาลตำบลบ้านต๊ำ
- เนื้อที่
มีเนื้อที่ทั้งหมด 56.95 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 35,592 ไร่
มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากจุดกึ่งกลางห้วยลึก บริเวณพิกัด NB 828230 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้กึ่งกลางห้วยลึกเป็นแนวแบ่งเขตจดกับเส้นทาง บริเวณพิกัด NB 847242 ใช้กึ่งกลางเส้นทางเป็นแนวแบ่งเขต ผ่านทุ่งนา ตัดผ่านถนนสายแม่ต๋ำ– แม่ใจ บริเวณพิกัด NB 881232 ผ่านหลังโรงเรียนบ้านต๊ำอินโต ตำบลบ้านต๊ำ ผ่านไปตามร่องขี้ลิ้น โดยถือเอากึ่งกลางร่องน้ำขี้ลิ้นเป็นแนวแบ่งเขตถึงกว๊านพะเยาบริเวณพิกัด NB 913241 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านกว๊านพะเยา ตัดผ่านถนนพหลโยธินบริเวณพิกัด NB 916247 ตัดผ่านสันดอยถึงลำห้วยเคียน บริเวณพิกัด NB 932272 ใช้กึ่งกลางลำห้วยเคียนเป็นแนวแบ่งเขตสิ้นสุดที่บริเวณเทือกเขากิ่วหม้อตอม บริเวณพิกัด NB 965292 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 18 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากบริเวณเทือกเขากิ่วหม้อตอม บริเวณพิกัด NB 965292 ไปทางทิศใต้ถือเอาสันปันน้ำเทือกเขา กิ่วหม้อตอมและดอยกิ่วเกียงเป็นแนวแบ่งเขตผ่านดอยท่อนแพะ ตัดผ่านถนนพหลโยธิน บริเวณพิกัด NB 938215 ไปทางทิศตะวันออกตามกึ่งกลางพหลโยธิน ถึงบริเวณพิกัด NB 941212 ไปทางทิศใต้ตามกึ่งกลางถนนคอนกรีต ถึงบริเวณพิกัด NB 941208 ไปทางทิศตะวันตกตามถนนดิน ถึงบริเวณพิกัด NB 938211 ถึงกว๊านพะเยารวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 9 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยมีแนวเขตเริ่มต้น จากบริเวณเขตเทศบาลเมืองพะเยา เป็นแนวแบ่งเขต บริเวณพิกัด NB 936204 ไปถึงบริเวณพิกัด NB 934208 ตัดผ่านกว๊านพะเยาไปทางทิศตะวันตก จดกึ่งกลางลำเหมือง บริเวณพิกัด NB 903214 ไปทางทิศตะวันตกผ่านทุ่งนา ถึงบริเวณพิกัด NB 980218 ตามลำเหมืองไปทางทิศตะวันตก ผ่านถนนแม่ต๋ำ – แม่ใจ บริเวณพิกัด NB 883220 ตามลำเหมืองไปทางทิศตะวันตก บริเวณพิกัด NB 882220 ไปทางทิศตะวันตกผ่านทุ่งนาจดสะพาน คสล. ข้ามลำห้วยต๋อม บริเวณพิกัด NB 864219 ตามกึ่งกลางลำห้วยต๋อม จดกับเส้นทาง บริเวณพอกัด NB 864219 สิ้นสุดที่ลำห้วยต๋อมบรรจบกับห้วยลึก บริเวณพิกัด NB 802208 รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 14.5 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากลำห้วยต๋อมบรรจบกับห้วยลึกบริเวณพิกัด NB 802208 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามกึ่งกลางห้วยลึก สิ้นสุดที่ บริเวณพิกัด NB 828230 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 3.5 กิโลเมตร
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลบ้านต๋อม เป็นที่ราบเชิงเขาอยู่บริเวณรอบกว๊านพะเยา โดยมีดอยหลวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่าน จำนวน 1 สาย คือลำน้ำแม่ต๋อม นอกจากนี้ยังมีบริเวณที่มีธรรมชาติที่สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประชาชนในท้องถิ่นได้แก่ ป่าหินบ่อสิบสอง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 16 ตำบลบ้านต๋อม
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
เทศบาลตำบลบ้านต๋อม ฤดูกาลแบ่งได้ 3 ฤดู
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกในเดือนกรกฎาคม/สิงหาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ หนาวจัดในเดือนมกราคม
1.4 ลักษณะของดิน
ตำบลบ้านต๋อมมีลักษณะดิน 2 ปะเภท ดังนี้
- ดินเหนียว เป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำพัดพามา จึงพบตามบริเวณที่ราบลุ่มน้ำอิง ดินชนิดนี้เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
- ดินตะกอนเก่า เป็นดินที่เกิดในลักษณะเดียวกับดินเหนียวเช่นกัน แต่มีการสะสมตัวของอนุภาคดินในระยะเวลาที่น้อยกว่าดินเหนียว แต่นานกว่าดินค่อนข้างใหม่ และลักษณะดินก็เป็นดินร่วนหรือดินทราย เช่นเดียวกับดินค่อนข้างใหม่ ดังนั้นจึงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำสำคัญได้แก่กว๊านพะเยา มีลักษณะเป็นที่ราบก้นกระทะ เกิดจากการทรุดตัวตามแนวเลื่อนในบริเวณแนวแม่น้ำอิง นอกจากกว๊านพะเยาแล้ว ยังมีหนองน้ำต่างๆ ประมาณ 10 แห่ง มีร่องน้ำเชื่อมต่อระหว่างหนองน้ำ และมีร่องน้ำเชื่อมต่อระหว่างกว๊านกับแม่น้ำอิงในฤดูฝนจะมีพื้นที่น้ำมาก แต่ในฤดูแล้งจะมีน้ำเฉพาะในแม่น้ำอิงและบริเวณหนองต่างๆ ในปี พ.ศ. 2482 มีการสร้างประตูเก็บกักน้ำกั้นลำน้ำอิง ทำให้ เกิดแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนบน ความลึก เฉลี่ย 1.93 เมตร ตำแหน่งของกว๊านพะเยาอยู่ที่ปลายด้านใต้ ของแนวภูเขาดอยห้วยน้ำขาวและแนวภูเขาดอยสันกลาง เป็นแหล่งรับน้ำจากแม่น้ำ ลำห้วย และพื้นที่โดยรอบ ด้านตะวันออก ของกว๊านพะเยาเป็นที่ตั้งของชุมชน ด้านตะวันตกเป็นที่ราบ กว้างลาดจากแนวภูเขาลงสู่กว๊านประกอบ ด้วยลำธารหลายสายไหลลงสู่กว๊าน ได้แก่ ห้วยแม่ต๋อม ห้วยแม่ใส น้ำแม่เรือ ห้วยแม่ต่ำ ห้วยแม่เหยี่ยน
1.6 ลักษณะของไม้/ป่าไม้
ตำบลบ้านต๋อมมีลักษณะป่าไม้ 3 ประเภท ดังนี้
1. ป่าเต็งรัง (Dry Diptevocarps Forest) ป่าชนิดนี้จะพบได้ตามยอดเขาและสันเขาโดยเฉพาะบนสันเขาดอยหลวง พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ รัง เต็ง เหียง พลวง รกฟ้า ฯลฯ พวกไม้พื้นล่างเป็นพวกหญ้าเพค ปรง เป็ง ฯลฯ
2. ป่าเบญจพรรณชื้น (Misud Deciduous Forest) ป่าชนิดนี้มีความชุ่มชื้นมากกว่าป่าเต็งรัง อยู่ถัดจากป่าเต็งรังลงมาถึงบริเวณลำห้วย พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ประดู่ แดง มะค่าโมง มะค่าแต้ ตะแบกใหญ่ ชิ่งชัน ยมหิน อ้อยช้าง ปออีเก้ง เสลา อินทนิน ตะเคียนหิน ซ่านและไผ่ต่างๆ
3. ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) ป่าชนิดนี้จะพบตามบริเวณขุนห้วย ซึ่งพื้นดินมีความชุ่มชื้นสูงมาก พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่จะเป็นไม้ไผ่ผลัดใบ ได้แก่ ตะเคียนหมู ตะเคียนทอง มะไฟป่า ยาง จำปีป่า และหวาย
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้าน
ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมดจำนวน 18 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านร่องห้า หมู่ที่ 2 บ้านสันต้นผึ้ง
หมู่ที่ 3 บ้านสันหนองเหนียว หมู่ที่ 4 บ้านต๋อมกลาง
หมู่ที่ 5 บ้านต๋อมดง หมู่ที่ 6 บ้านต๋อมดง
หมู่ที่ 7 บ้านต๋อมดง หมู่ที่ 8 บ้านห้วยทรายคำ
หมู่ที่ 9 บ้านร่องไผ่เหนือ หมู่ที่ 10 บ้านร่องไผ่ใต้
หมู่ที่ 11 บ้านแท่นดอกไม้ หมู่ที่ 12 บ้านสันป่างิ้ว
หมู่ที่ 13 บ้านร่องห้าป่าสัก หมู่ที่ 14 บ้านร่องห้าป่าฉำฉา
หมู่ที่ 15 บ้านร่องห้า หมู่ที่ 16 บ้านเกษตรพัฒนา
หมู่ที่ 17 บ้านแท่นดอกไม้ หมู่ที่ 18 บ้านป่าสักร่มเย็น
2.2 การเลือกตั้ง
การบริหารการเมืองท้องถิ่น
เทศบาลตำบลบ้านต๋อม เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีโครงสร้างของเทศบาลตำบล ประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือ
1) ฝ่ายสภาเทศบาลตำบลบ้านต๋อม มีฐานะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 2 เขต เขตละ 6 คน มีสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านต๋อม จำนวน 12 คน
2) ฝ่ายบริหารเทศบาลตำบลบ้านต๋อม มีผู้บริหาร จำนวน 1 คน คือ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านต๋อม รองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านต๋อม จำนวน 2 คน เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลบ้านต๋อม 1 คน และมีที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลบ้านต๋อม 1 คน ทำหน้าที่บริหารงานในเทศบาลตำบลให้เป็นไปตามมติ ข้อบังคับ และแผนพัฒนาตำบล
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
จำนวนประชากร
ข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์ ณ เดือน สิงหาคม พ.ศ.2561
หมู่ที่ หมู่บ้าน จำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม จำนวนครัวเรือน
1 บ้านร่องห้า 416 416 832 523
2 บ้านสันต้นผึ้ง 183 232 415 165
3 บ้านสันหนองเหนียว 360 386 746 264
4 บ้านต๋อมกลาง 296 356 652 312
5 บ้านต๋อมดง 190 222 412 147
6 บ้านต๋อมดง 238 256 494 179
7 บ้านต๋อมดง 342 399 741 298
8 บ้านห้วยทรายคำ 220 224 444 152
9 บ้านร่องไผ่เหนือ 328 355 683 230
10 บ้านร่องไผ่ใต้ 327 341 668 224
11 บ้านแท่นดอกไม้ 670 1,040 1,710 2,091
12 บ้านสันป่างิ้ว 225 247 472 127
13 บ้านร่องห้าป่าสัก 364 402 766 275
14 บ้านร่องห้าป่าฉำฉา 337 387 724 442
15 บ้านร่องห้า 326 372 698 280
16 บ้านเกษตรพัฒนา 185 168 353 250
17 บ้านแท่นดอกไม้ 572 675 1,247 825
18 บ้านป่าสักร่มเย็น 193 205 398 158
รวมทั้งสิ้น 5,772 6,683 12,455 6,942
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
จำนวนประชากรเยาวชน อายุต่ำกว่า 18 ปี ชาย 1,009 คน หญิง 932 คน
จำนวนประชากร อายุ 18-60 ปี ชาย 3,642 คน หญิง 4,422 คน
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปี ชาย 1,108 คน หญิง 1,342 คน
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
สถานศึกษา ประเภท ที่ตั้ง จำนวนครู จำนวนนักเรียน
ชาย หญิง รวม
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร่องห้า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ม.1 ต.บ้านต๋อม 3 29 18 47
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านต๋อมดง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ม.7 ต.บ้านต๋อม 3 22 21 43
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร่องไผ่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ม.9 ต.บ้านต๋อม 2 19 7 26
สถานศึกษา ประเภท ที่ตั้ง จำนวนครู จำนวนนักเรียน
ชาย หญิง รวม
โรงเรียนบ้านร่องห้า มัธยมศึกษา/ขยายโอกาส ม.1 ต.บ้านต๋อม 21 71 56 127
โรงเรียนบ้านต๋อม มัธยมศึกษา/ขยายโอกาส ม.12 ต.บ้านต๋อม 22 86 73 159
โรงเรียนไชยพันธ์พงษ์พิทยา การศึกษาสงเคราะห์ ม.17 ต.บ้านต๋อม 22 339 265 604
วิทยาลัยเทคนิคพะเยา โรงเรียนอาชีวศึกษา ม.11 ต.บ้านต๋อม 82 1,969 727 2,656
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดมศึกษา ม.11 ต.บ้านต๋อม 42 34 373 407
ศูนย์ กศน.พะเยา การศึกษานอกโรงเรียน ม.11 ต.บ้านต๋อม 26 1,107 523 1,630
วิทยาลัยพระคริสต์พะเยา วิทยาลัย ม.17 ต.บ้านต๋อม - - - -
4.2 สาธารณสุข
ลำดับที่ สถานที่ ประเภท ที่ตั้ง จำนวนบุคลากร
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พนักงานจ้าง
1. รงพยาบาลจังหวัดพะเยา โรงพยาบาลของรัฐ ขนาด 500 เตียง ม.11 ต.บ้านต๋อม 536 692
2. รพ.สต.ตำบลบ้านต๋อม รพ.สต. ม.4 ต.บ้านต๋อม 7 5
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน 18 แห่ง
- ร้านขายยา (ควบคุมโดยเภสัชกร) จำนวน 4 แห่ง
- แพทย์ประจำตำบล จำนวน 1 คน
- อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 366 คน
- อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
5.ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
เส้นทางคมนาคมและการขนส่งของเทศบาลตำบลบ้านต๋อม มีความสะดวกสบายทั้งการติดต่อในแต่ละหมู่บ้านของเทศบาลตำบลบ้านต๋อม และพื้นที่ใกล้เคียงจะมีถนนลาดยางเชื่อมต่อกันทำให้การสัญจรไปมาสะดวกสบาย ดังนี้
1. ทางหลวงแผ่นดิน สายพหลโยธิน (สายพะเยา-เชียงราย) ผ่านหมู่ที่ 1,11,13,14,15,17,18
2. ถนน สปก. จากหมู่ที่ 13 ผ่านหมู่ที่ 16 ไปจดห้วยบง
3. ถนนทางหลวงชนบท เชื่อมต่อจากทางหลวงแผ่นดิน สายพหลโยธิน จากหมู่ที่ 15 ผ่าน
หมู่ที่ 2 , 12 , 4 ไปเชื่อมต่อถนนแขวงการทางพะเยา หมายเลข 1193 สายแม่นาเรือ –
แม่ใจ
4. ถนนแขวงการทางพะเยา หมายเลข 1193 สายแม่นาเรือ – แม่ใจ ผ่านหมู่ที่ 4 , 9
5. ถนนที่เชื่อมต่อจากถนนแขวงการทางพะเยา หมายเลข 1193 สายแม่นาเรือ – แม่ใจ
ผ่านหมู่ที่ 4 , 9 จำนวน 2 สาย คือ
- ถนนสาย อบจ.พะเยา จากหมู่ที่ 9 ผ่านหมู่ที่ 10 ไปจดถนนแขวงการทางพะเยา
ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ
- ถนนสาย อบจ.พะเยา สายบ้านต๋อมกลาง – บ้านต๋อมใน ตำบลสันป่าม่วง
สำหรับถนนที่ใช้สัญจรไปมาในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเป็นหลัก โดยจะมีถนน
ลูกรังเป็นถนนที่ใช้สัญจรเข้าสู่พื้นที่การเกษตร
5.2 การไฟฟ้า
- ครัวเรือนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านต๋อม มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน โดยในเขตพื้นที่ตำบลบ้านต๋อมเป็นที่ตั้งของสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดพะเยา ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
5.3 การประปา
แหล่งน้ำที่สำคัญของตำบลบ้านต๋อม ประกอบด้วย
1. กว๊านพะเยา ซึ่งเป็นบึงและแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ของจังหวัดพะเยา
2. อ่างเก็บน้ำห้วยลึก พื้นที่รับน้ำในฤดูฝน 536 ไร่ ฤดูแล้ง 100 ไร่ หมู่บ้านที่ได้รับ
ประโยชน์จากการใช้น้ำ หมู่ที่ 5 , 6 , 7 , 8 , 9 , 10
3. ฝาย จำนวน 14 แห่ง
4. บ่อน้ำตื้น จำนวน 1,106 แห่ง
5. บ่อโยก จำนวน 14 แห่ง
6. ระบบประปา จำนวน 9 แห่ง แยกเป็น
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน 9 แห่ง (ประปาผิวดิน 3 แห่ง และประปาบาดาล 6 แห่ง)
- ประปาภูเขา จำนวน 1 แห่ง
5.4 โทรศัพท์ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นทำให้ในปัจจุบันประชาชนใช้บริการโทรศัพท์มือถือมากขึ้นส่งผลให้การใช้งานโทรศัพท์สาธารณะลดลง ทำให้พบเห็นตู้โทรศัพท์ที่สามารถใช้งานได้ลดลง ปรากฏการใช้งานโทรศัพท์ ดังนี้ โทรศัพท์บ้าน / ตู้โทรศัพท์สาธารณะ / โทรศัพท์มือถือ
5.5 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร มีการทำนาปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ปลูกข้าวเจ้า คิดเป็นร้อยละ 65 ของพื้นที่ทั้งหมด และปลูกข้าวเหนียว คิดเป็นร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนพืชรอง
พืชสวน ได้แก่ ยางพารา ลำไย มะม่วง
พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง
6.2 การประมง มีการทำประมงพื้นบ้าน บริเวณกว๊านพะเยา
6.3 การปศุสัตว์ มีการเลี้ยงโค กระบือ เป็นหลัก และมีการเลี้ยงสุกร ไก่พันธ์ไข่ ไก่พื้นเมืองในบางพื้นที่ของตำบลบ้านต๋อม
6.4 การบริการ
หน่วยธุรกิจในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านต๋อม
- หอพัก 30 แห่ง - โรงแรม 4 แห่ง
- ปั๊มน้ำมัน 3 แห่ง - ตลาด 3 แห่ง
- โรงสี 21 แห่ง
- ร้านค้า 33 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว
1. วัดพระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 17 ตำบลบ้านต๋อม
2. หาดอิงกว๊าน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 , 3 ตำบลบ้านต๋อม
3. ป่าหินบ่อสิบสอง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 16 ตำบลบ้านต๋อม
4. วังมัจฉา ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 , 6 ตำบลบ้านต๋อม
6.6 การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ
กลุ่มมวลชนจัดตั้ง
1. กองทุนข้าว หมู่ 18 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
2. กลุ่มฌาปนกิจศพ หมู่ 12 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
3. กองทุนข้าว หมู่ 12 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
4. กลุ่มออมทรัพย์ หมู่ 12 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
5. กลุ่มจักสานผักตบชวา หมู่ 12 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
6. กองทุนเงินล้าน หมู่ 12 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
7. กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง หมู่ 4 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
8. กลุ่มทำพริกป่น – ถั่วลิสงป่น หมู่ 4 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
9. กลุ่มเลี้ยงโคและผลิตภัณฑ์โค หมู่ 4 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
10. กองทุนหมู่บ้านต๋อมกลาง หมู่ 4 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
11. กลุ่มประมงพื้นบ้าน หมู่ 3 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
12. กลุ่มนาบัว สวนผสม หมู่ 3 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
13. กลุ่มโรงน้ำดื่ม – ธนาคารข้าว หมู่ 3 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
14. กลุ่มผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ หมู่ 3 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
15. กลุ่มปศุสัตว์ไร่นาสวนผสม หมู 3 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
16. กลุ่มธนาคารข้าว หมู่ 5 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
17. กลุ่มส่งเสริมปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ 5 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
18. กลุ่มเกษตรรมทางเลือก หมู่ 5 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
19. เศรษฐกิจพอเพียง (เพาะเห็ดฟางฯ) หมู่ 5 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
20. กลุ่มจักสานผักตบชวา , ตัดเย็บเสื้อผ้า หมู่ 5 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
21. กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้าน หมู่ 1 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
22. กลุ่มจิ้งหรีด หมู่ 13 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
23. กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้าน หมู่ 13 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
24. กลุ่มเย็บผ้า หมู่ 13 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
25. กลุ่มผ้าเช็ดเท้า หมู่ 9 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
26. กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้าน หมู่ 15 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
27. กลุ่มจักสานผักตบชวา หมู่ 15 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
28. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา หมู่ 7 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
29. กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ หมู่ 7 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
30. กองทุนหมู่บ้านต๋อมดง หมู่ 6 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
31. กลุ่มปลูกถั่วลิสง หมู่ 6 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
32. ธนาคารข้าวหมู่ที่ 6 บ้านต๋อมดง หมู่ 6 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
33. ชมรม อสม. ตำบลบ้านต๋อม หมู่ 12 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
34. กลุ่มไม้กวดดอกหญ้าผู้สูงอายุ หมู่ 9 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
35. เยาวชนคนรักษ์ร่องไผ่ หมู่ 9 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
36. กลุ่มออมทรัพย์จักสานผักตบชวา หมู่ 6 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
37. กลุ่มฮักไก่ชน หมู่ 17 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
38. กลุ่มกองทุนปุ๋ยชีวภาพ หมู่ 8 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
39. กลุ่มสวัสดิการชุมชน หมู่ 4 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
40 กลุ่มเบเกอรี่ / แปรรูปอาหาร หมู่ 4 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
41. กลุ่มเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 6 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
42. กองทุนเงินล้าน หมู่ 2 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
43. กลุ่มจักสานผักตบชวา หมู่ 2 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
44. กลุ่มนาบัว หมู่ 2 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
45. ผู้สูงอายุอายุตำบลบ้านต๋อม หมู่ 7 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
46. สภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านต๋อม หมู่ 9 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
47. ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลบ้านต๋อม หมู่ 4 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
48. กลุ่มแม่บ้านตำบลบ้านต๋อม หมู่ 4 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
หมายเหตุ : เรียงลำดับตามวันที่จดทะเบียนกลุ่มฯ
8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
สถาบันและองค์การทางศาสนา
ประชาชนในตำบลร้อยละ 98 นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 2 โดย
มีวัดจำนวน 7 แห่ง สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง และโบสถ์คริสตจักร จำนวน 1 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้
ลำดับที่ สถานที่ ที่ตั้ง
1 วัดบ้านร่องห้า ม.1 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
2 วัดต๋อมใต้ศรีมณฑล ม.3 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
3 วัดต๋อมกลาง ม.4 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
4 วัดต๋อมดง ม.5 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
5 วัดห้วยทรายคำ ม.8 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
6 วัดบ้านร่องไผ่ ม.10 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
7 วัดพระธาตุจอมทอง ม.11 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
8 สำนักสงฆ์ปฏิรูป ม.16 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
9 โบสถ์คริสตจักร ม.17 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
1. ประเพณีไหว้พระธาตุจอมทอง จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 4 ของทุกปี
2. ประเพณีไหว้พระเจ้าตนหลวง จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ประมาณเดือน พฤษภาคม ของทุกปี
3. ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ จัดขึ้นในวันที่ 16 เดือน เมษายน ของทุกปี
4. ประเพณีลอยกระทง (ยี่เป็ง) จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ (เดือน พฤศจิกายน)
5. งานประเพณีสลากภัต จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสองเหนือ จนถึงเดือนเกี๋ยงดับ ประมาณเดือนกันยายน
จนถึงเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี
6. แห่เทียนพรรษา จัดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาหรือ วันเพ็ญเดือนแปด ของทุกปี
7. งานสักการะบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง จัดขึ้นในวันที่ 5 เดือน มีนาคม ของทุกปี
8. งานประเพณีกินข้าวใหม่น้ำหวาน จัดขึ้นในเดือนมกร??